การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1
 

ไปหน้าที่ | 1 | 2 | 3 | 4 |



การวิเคราะห์แบบเมชกรณีที่มีแหล่งจ่ายกระแส
เนื่องจากเราไม่ทราบค่าของแรงดันที่ตกคร่อมแหล่งจ่ายกระแสซึ่งจะทำให้ไม่สามารถเขียนสมการ KVL รอบเมชนั้นได้ แต่อย่างไรก็ตามเราจะทราบความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเมชและแหล่งจ่ายกระแสของวงจรรูป 3.10 ดังนี้

และ


รูปที่ 3.10 วงจรที่มีแหล่งจ่ายกระแส

จากนั้นทำการถอดเอาแหล่งจ่ายกระแสในวงจรนั้นออกไป เช่นวงจรรูปที่ 3.10 เมื่อถอดแหล่งจ่ายกระแสออกจะได้ดังรูปที่ 3.11ซึ่งเมื่อถอดแหล่งจ่ายกระแสออกไปแล้วจะเกิดเมชใหม่ขึ้นมา เราเรียกเมชใหม่นี้ว่าซูปเปอร์เมช (Supermesh)

รูปที่ 3.11 วงจรรูปที่ 3.10 เมื่อถอดแหล่งจ่ายกระแสออก

เขียนสมการ KVL รอบซูปเปอร์เมชได้

สรุปได้ว่าจากวงจรนี้จะมีสมการสองสมการที่มาจากความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งจ่ายกระแสและกระแสเมช และอีกหนึ่งสมการจากสมการ KVL ที่ซูปเปอร์เมช รวมทั้งหมด 3 สมการ ซึ่งสามารถใช้หาคำตอบคือ ถึง ได้
  ขั้นตอนการวิเคราะห์แบบเมชกรณีมีแหล่งจ่ายกระแส
  1. กำหนดกระแสเมชในแต่ละเมช
  2. เขียนสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งจ่ายกระแสและกระแสเมช
  3. ถอดแหล่งจ่ายกระแสทั้งหมดในวงจรออก
  4. เขียนสมการ KVL รอบแต่ละเมช และแต่ละซูปเปอร์เมชของวงจรที่ถอดแหล่งจ่ายกระแสออกแล้ว
  5. แก้สมการเพื่อหาตัวแปรกระแสเมชทั้งหมด