ประจุไฟฟ้า
|
(Electric
Charge) |
|
Charles-Augustin
de Coulomb
|
French
physicist. (1736-1806)
|
|

|
|
ประจุไฟฟ้าคือคุณสมบัติทางไฟฟ้าของอนุภาคในสสารมีหน่วยเป็น
คูลอมบ์ (Coulomb,C) โดยประกอบด้วยประจุบวกและประจุลบ
ประจุชนิดเดียวกันจะผลักกัน ต่างชนิดกันจะดูดกัน อักษรย่อ q
หรือ Q
อนุภาคที่เล็กที่สุดของสสาร
คือ อะตอม(atom)
ในอะตอมแต่ละอะตอมจะประกอบด้วย
อิเล็กตรอน
(Electrons) โปรตอน (Protons)
และนิวตรอน (Neutron) อิเล็กตรอนมีประจุลบขนาด
1.6021x10-19 คูลอมบ์ โปรตอนจะมีประจุบวกขนาด 1.6021x10-19
คูลอมบ์
ส่วนนิวตรอนจะไม่มีประจุ

รูปที่ 1.2
องค์ประกอบต่างๆของอะตอม
|
กระแสไฟฟ้า (Electric Current)
กระแสไฟฟ้าใช้ตัวอักษร
i หรือ I คืออัตราการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าในหนึ่งหน่วยเวลา
มีหน่วยเป็น แอมแปร์ (Ampere,A)
หรือเราสามารถหาประจุที่มีการส่งผ่านในช่วงเวลา t0
ถึง t ได้โดย
ไฟฟ้ากระแสตรง
(Direct Current,DC)
คือ กระแสไฟฟ้าที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามเวลา
ไฟฟ้ากระแสสลับ
(Alternating Current,AC)
คือกระแสไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาเป็นรูปแบบฟังก์ชันไซน์
รูปที่ 1.3 ไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ
|

Andre-Marie Ampere
French physicist.(1775-1836)
|
ในการเขียนค่าของกระแสไฟฟ้านั้นที่สำคัญคือเรื่องของทิศทาง เช่นในรูป
1.4(a) กระแสขนาด 3A เคลื่อนที่จากทางซ้ายไปทางขวา ซึ่งกระแสเดียวกันนี้สามารถเขียนแสดงได้อีกรูปแบบหนึ่งคือรูปที่
1.4(b) คือกระแสขนาด -3A เคลื่อนที่จากทางขวาไปทางซ้าย

รูปที่ 1.4 กระแสขนาดเท่ากันที่แสดงในสองรูปแบบ
พลังงานและกำลังงาน (Power and Energy)
กำลังงานใช้อักษรย่อเป็น p
หรือ P คืออัตราการใช้พลังงาน
มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt,W)
หรือ
การหาค่ากำลังงานนั้นจะกำหนดให้ทิศทางของกระแสไหลจากขั้วบวกของแรงดันไปยังขั้วลบดังรูป
1.6 เราเรียกการกำหนดขั้วของแรงดันและทิศทางของกระแสแบบนี้ว่า
"การกำหนดเครื่องหมายแบบอุปกรณ์พาสซีฟ" (passive sign convention)

รูปที่ 1.6 ขั้วของแรงดันและทิศทางของกระแสที่ใช้หาค่ากำลังงาน
|

James Watt
Scottish engineer.(1736-1819)
|
ค่าของกำลังงานที่อุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆนั้นสามารถเป็นได้ทั้งค่าบวกและลบขึ้นอยู่กับค่าของแรงดันและกระแส
โดยถ้ากำลังงานที่อุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆมีค่าเป็นบวกจะเรียกว่าอุปกรณ์ไฟฟ้านั้น ดูดกลืนกำลังงาน (Absorbing power) แต่ถ้ากำลังงานที่อุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆมีค่าเป็นลบจะเรียกว่าอุปกรณ์ไฟฟ้านั้น จ่ายกำลังงาน (Delivering power หรือ Supplying power)
ส่วนพลังงานที่อุปกรณ์ไฟฟ้าหนึ่งๆใช้ไปในช่วงเวลา t0 ถึง
t ใดๆคือ
พลังงานนั้นมีหน่วยเป็นจูล แต่บางครั้งในทางไฟฟ้ากำลังมักจะใช้หน่วยเป็นวัตต์ชั่วโมง
(watt-hour ,Wh) โดย
1 Wh = 3600 J
|